การให้บริการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าประจำปี

การให้บริการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า (ประจำปี) : PM 
และ ระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ งาน HDDเคเบิ้ลใต้ดิน ปักเสาพาดสาย  
ติดตั้งหม้อแปลงระบไฟฟ้า และ EPC Renewable Energy , Solar Farm , Solar Rooftop 
ทั้งหน่วยงานราชการสหกรณ์และ ระบบเสรี  PEA,MEA , พพ
ELECTRICAL SYSTEM PREVENTIVE MAINTENANCE
ปัจจุบันปัญหาของระบบไฟฟ้าที่ขัดข้อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานขององค์กร หน่วยงานหรือ
อาคาร และยังทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันเชิงธุรกิจ มักมีสาเหตุมาจากการขาดการวางแผนในการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม
ดังนั้นการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ( Electrical System Preventive Maintenance ) จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยรักษาความเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าได้ประเภท อาคารที่เราให้บริการ ดังต่อไปนี้  : อาคารสำนักงาน  อาคารชุด คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า โรงแรม โรงพยาบาล ทั้งใน กทม และต่างจังหวัด ทั่วประเทศ เรามีเครื่องมือที่ทันสมัยและทีมงานและ Mobile Team :

 

รูปแบบต่างๆของงานบำรุงรักษา
-  งานซ่อมแซมหลังเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance) 
-  งานบำรุงรักษาป้องกัน (Preventive Maintenance)
-  งานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)
-  งานบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)
-  งานบำรุงรักษาโดยรวม (Total Productive Maintenance)

 

อุปกรณ์ที่ควรทำการตรวจสอบซ่อมบำรุงอย่างน้อยปีละครั้ง
- HIGH VOLTAGE LOADBREAK &SF6 RING MAIN UNIT
- DRY TYPE TRANSFORMER
- OIL TYPE TRANSFORMER
- LOW VOLTAGE AIR CIRCUIT BREAKER
- AUTOMATIC TRANSFER SWITCH
- CAPACITOR BANK


งานซ่อมแซมหลังเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance) หรือ BM
เป็นการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าจนกระทั่งเกิดการขัดข้อง จึงจะดำเนินการซ่อมบำรุง ซึ่งการบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดการสูญเสีย
งานบำรุงรักษาป้องกัน (Preventive Maintenance) หรือ PM
เป็นการบำรุงรักษาก่อนที่อุปกรณ์ไฟฟ้าจะเกิดการขัดข้องและมีการจัดทำ
แผนงานตรวจสอบ  และทดสอบอุปกรณ์เพื่อลดโอกาสอุปกรณ์ชำรุด ได้แก่ การทำความสะอาด การหล่อลื่น การตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า การทดสอบการทำงานของชุดป้องกัน  เป็นต้น
านบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) เป็นการแก้ไขปรับปรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือดัดแปลงชิ้นส่วนอุปกรณ์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ดีขึ้นเพื่อลด หรือขจัดเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้น
งานบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance) เป็นการผสมผสานระหว่างการบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุกับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 
โดยพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในจุดที่เหมาะสม
Infrared Thermographic Inspection Service 
ปัจจุบัน การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เป็นงานที่มีความสำคัญมาก เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเปรียบเสมือนหัวใจหลักของโรงงาน หรือ อาคาร ในการดำเนินกิจการ ดั้งนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างมืออาชีพ จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ซึ่ง บริษัท พีค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้นำกล้องอินฟราเรด จากประเทศ ญี่ปุ่น ยี่ห้อ NEC รุ่น TH 9100 ซึ่งเป็นกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ปัจจุบัน โดยสามารถตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของ จุดต่อไฟฟ้าต่างๆ อุปกรณ์เปิด-ปิดไฟฟ้า สายไฟ ฟิวส์ คาปาซิเตอร์มอเตอร์ ท่อเคมีต่างๆ และเตาหลอม เป็นต้น ซึ่งเป็นการตรวจวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสวัตถุแต่สามารถวัดอุณหภูมิได้ โดยจะมีภาพแสดงที่จอ LCD ของกล้องอินฟราเรด ทำให้สามารถพบจุดที่มีปัญหาและแก้ไขได้ทันที พร้อมทั้งยังสามารถบันทึกภาพเพื่อนำมาทำรายงานในการวิเคราะห์ปัญหาที่พบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าและความสูญเสียเชิงธุรกิจ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจเช็คด้วยกล้องอินฟราเรด
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดอัคคีภัยอันเนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร
ช่วยแสดงตำแหน่งของอุปกรณ์ที่มีปัญหาได้อย่างแม่นยำ
ช่วยจัดลำดับความเร่งด่วนในการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของทีมงานซ่อมบำรุง
ช่วยในการจัดเตรียมอะไหล่ล่วงหน้าได้
ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และเครื่องจักรได้
ช่วยลดค่าเบี้ยประกันภัยได้
ช่วยให้ตรวจพบสิ่งผิดปกติต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ขณะเครื่องจักรทำงาน
ช่วยลดความสิ้นเปลืองของพลังงานที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
สาเหตุที่สำคัญของการเกิดปัญหาระบบไฟฟ้าขัดข้อง
ปัญหาระบบไฟฟ้าขัดข้องที่เกิดขึ้นมักมีต้นเหตุหลายประการ พอสรุปสาเหตุหลักได้ดังนี้
ความเสื่อมสภาพและการชำรุดของชิ้นส่วน เช่น หน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์
( Main Contact ) ชุดกลไกเคลื่อนที่ ( Mechanical Parts ) อุปกรณ์รีเลย์ ( Control Relay ) เป็นต้น ที่ส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าขาดการบำรุงรักษาที่เป็นระบบ เช่น
ขาดการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ขาดการทำความสะอาดทำให้เกิดความสกปรกของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ขาดการตรวจสอบจุดต่อต่างๆของอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น
ขาดการปรับเงื่อนไขการทำงาน ที่มีการปฏิบัติการในสภาวะที่เกิดจากปัจจัยข้อกำหนด
ของการออกแบบ ปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ขนาดของโหลด เป็นต้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้